รูปธรรมชาติ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

จังหวัดเชียงใหม่

ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์


ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย เชียงใหม่
ชื่ออักษรโรมัน Chiang Mai
ชื่อไทยอื่นๆ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
ผู้ว่าราชการ นายวิบูลย์ สงวนพงศ์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2550)
ISO 3166-2 TH-50
สีประจำกลุ่มจังหวัด ชมพูบานเย็น
ต้นไม้ประจำจังหวัด ทองกวาว
ดอกไม้ประจำจังหวัด ทองกวาว
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 20,107.0 ตร.กม.
(อันดับที่ 2)
ประชากร 1,664,399 คน (พ.ศ. 2550)
(อันดับที่ 5)
ความหนาแน่น 82.78 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 54)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ (+66) 0 5311 2713
เว็บไซต์ http://www.chiangmai.go.th/

จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 750 กิโลเมตรโดยทางรถไฟ และรถยนต์ประมาณ 720 กิโลเมตรตามแนวทางหลวงแผ่นดินสายเหนือ

ประวัติศาสตร์
เมืองเชียงใหม่สร้างขึ้นโดยพญามังราย ในปี พ.ศ. 1839 ในชื่อ "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" และใช้เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา ในอดีต เชียงใหม่มีฐานะเป็นราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังรายตั้งแต่ พ.ศ. 1839-2101 แต่ต่อมาเชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองในปี พ.ศ. 2101 และได้ถูกปกครองโดยพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ โดยให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช และมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน

หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 24 อำเภอ 204 ตำบล 1915 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (เทศบาลนครเชียงใหม่)1เทศบาลเมือง(เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา)

อำเภอ
อำเภอเมืองเชียงใหม่
อำเภอจอมทอง
อำเภอแม่แจ่ม
อำเภอเชียงดาว
อำเภอดอยสะเก็ด
อำเภอแม่แตง
อำเภอแม่ริม
อำเภอสะเมิง
อำเภอฝาง
อำเภอแม่อาย
อำเภอพร้าว
อำเภอสันป่าตอง
อำเภอสันกำแพง
อำเภอสันทราย
อำเภอหางดง
อำเภอฮอด
อำเภอดอยเต่า
อำเภออมก๋อย
อำเภอสารภี
อำเภอเวียงแหง
อำเภอไชยปราการ
อำเภอแม่วาง
อำเภอแม่ออน
อำเภอดอยหล่อ

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ
ทิศเหนือ
รัฐฉานของสหภาพพม่า โดยมีดอยผีปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศใต้
อำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก) มีร่องน้ำแม่ตื่นและดอยผีปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันออก
อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง (จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้ (จังหวัดลำพูน) ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและลำปางมีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูง และร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันตก
อำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มีดอยผีปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และดอยผีปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำแตง แม่น้ำแจ่ม แม่น้ำกก แม่น้ำกวง แม่น้ำตื่น และแม่น้ำฝาง

ภูมิอากาศ
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส

สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

ชาวเชียงใหม่ที่มีชื่อเสียง
จรัล มโนเพ็ชร
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นภาพล เกียรติศักดิ์โชคชัย
บุญศรี รัตนัง
พิสิฐ กีรติการกุล

ประชากร

อาชีพ
ภาคเหนือภูมิอากาศเย็นสดชื่น ภูมิประเทศสวยงามด้วยป่าเขา และดอกไม้นานา ชนิด ทำให้คนเหนือมีลักษณะเยือกเย็น จิตใจโอบอ้อมอารี งานศิลปะหัตถกรรมหลายชนิดจึงเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้

อาชีพของประชากรไทยส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่อาชีพเกษตรกรรม โดยคิดเป็นร้อยละ 61.43 ของผู้ที่ทำงานทั้งหมด ทั่วประเทศ อันเป็นอาชีพดั้งเดิมของชนชาวไทย รองลงมาคือ อาชีพด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม คิดเป็นร้อยละ 13.60 และ 10.02 ตามลำดับ นอกจากนี้ก็ประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ การเมือง แพทย์ ทนายความ และอีกหลายสาขาอาชีพ ตลอดจนผู้ใช้ฝีมือแรงงาน

ภาษาราชการที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และมีภาษาท้องถิ่นซึ่งเรียกว่า ภาษาคำเมือง

ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของทางภาคเหนือ มีคุณลักษณะของภาษาที่คล้ายๆกัน จะแตกต่างกันเฉพาะ สำเนียงและศัพท์บางคำ แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความไพเราะ

ต่างกันไปนักท่องเที่ยวที่มาจากถิ่นอื่น ล้วนชื่นชมว่า ภาษาคำเมืองนั้น มีความไพเราะ นุ่มนวล ยิ่งนักแล...

การศึกษา
จังหวัดเชียงใหม่รับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา โรงเรียนที่มีชื่อเสียงในจังหวัดได้แก่

โรงเรียนเอกชนในเขตอำเภอเมือง

โรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนดาราวิทยาลัย โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย โรงเรียนสตรี เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนพระหฤทัย เชียงใหม่ โรงเรียนสตรี เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนชาย ในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมต้น ส่วนในระดับมัธยมปลายเป็น โรงเรียนสหศึกษา
โรงเรียนวชิรวิทย์ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนวารี เชียงใหม่ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง

โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนหอพระ โรงเรียนสหศึกษา สอนในระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนสหศึกษา ในระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลปละประถมศึกษา
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนรัฐบาลนอกอำเภอเมือง

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนไชยปราการ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนเอกชนนอกเขตอำเภอเมือง

โรงเรียนรังษีวิทยา โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนรัตนาเอื้อวิทยา โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนสายอักษร โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้แก่

วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ www.cmtc.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ www.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ www.mju.ac.th
มหาวิทยาลัยพายัพ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก พระอารามหลวง
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

กีฬา
ในจังหวัดเชียงใหม่มีการเล่นกีฬาหลายประเภทและมีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้งที่เชียงใหม่ ซึ่งได้แก่ เอเชียนเกมส์ 1998 (เฉพาะฟุตบอลที่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี) ซีเกมส์ครั้งที่ 18 ฟุตบอลเอเชียเยาวชน 1998 และกีฬาในประเทศ ได้แก่ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 3 ครั้ง

กีฬาอาชีพในเชียงใหม่นั้น มีสโมสรฟุตบอลอาชีพ คือ สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ซึ่งเป็นทีมจังหวัดที่ประสบความสำเร็จทีมหนึ่งในภาคเหนือ โดยปัจจุบันในปี 2549 เล่นฟุตบอลอาชีพ ใน โปรลีก และในเดือน ตุลาคม 2549 ได้มีแถลงการเปิดบริษัทที่จะสนับสนุนฟุตบอลอาชีพ ในชื่อ "บริษัท พัฒนาธุกิจกีฬา เชียงใหม่" [1]

คมนาคม


การเดินทางระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ สามารถเดินทางได้หลายวิธี รวมถึงทางเครื่องบิน ผ่านทางท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือรถไฟ ผ่านทางสถานีรถไฟเชียงใหม่ หรือรถประจำทาง ลงที่ท่ารถประจำทางที่ สถานีขนส่งอาเขต

สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมีรถเมล์ รถแดง BRT สำหรับระบบ BRT คือรถเมล์ด่วนพิเศษนครเชียงใหม่จะเปิดให้บริการในอนาคต แต่ยังติดปัญหาเรื่องงบประมาณและการพิจารณาอนุมัติของ สนข.

ประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ในบริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงิน เป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วน สี แดง - เหลือง เป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล

เศรษฐกิจ
ในปี พ.ศ. 2543 ประชากรเชียงใหม่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 55,846 บาทต่อปี เป็นอันดับ 2 รองจากจังหวัดลำพูนของภาคเหนือ โดยทั้งจังหวัดมีผลิตภัณฑ์มวลรวม 81,423 ล้านบาท โดยส่วนมากขึ้นอยู่กับสาขาบริการมากที่สุด ถึงร้อยละ 28.82 มูลค่า 23,464 ล้านบาท รองลงมาเป็นสาขาอุตสาหกรรม ร้อยละ 18.86 มูลค่า 15,359 ล้านบาท และสาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 11.37 มูลค่า 9,258 ล้านบาท อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 8.9

สถานที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
อุทยานแห่งชาติขุนขาน
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
อุทยานแห่งชาติแม่โถ
อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
อุทยานแห่งชาติออบขาน

อ้างอิง
^ การแถลงข่าว เปิด บริษัท พัฒนาธุกิจกีฬา เชียงใหม่ จาก หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไม่มีความคิดเห็น:


Free CursorsMyspace LayoutsMyspace Comments