รูปธรรมชาติ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

จังหวัดเชียงใหม่

ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์


ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย เชียงใหม่
ชื่ออักษรโรมัน Chiang Mai
ชื่อไทยอื่นๆ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
ผู้ว่าราชการ นายวิบูลย์ สงวนพงศ์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2550)
ISO 3166-2 TH-50
สีประจำกลุ่มจังหวัด ชมพูบานเย็น
ต้นไม้ประจำจังหวัด ทองกวาว
ดอกไม้ประจำจังหวัด ทองกวาว
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 20,107.0 ตร.กม.
(อันดับที่ 2)
ประชากร 1,664,399 คน (พ.ศ. 2550)
(อันดับที่ 5)
ความหนาแน่น 82.78 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 54)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ (+66) 0 5311 2713
เว็บไซต์ http://www.chiangmai.go.th/

จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ส่วนกว้างจากทิศตะวันตกจรดทิศตะวันออกประมาณ 138 กิโลเมตร ส่วนยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ประมาณ 320 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 750 กิโลเมตรโดยทางรถไฟ และรถยนต์ประมาณ 720 กิโลเมตรตามแนวทางหลวงแผ่นดินสายเหนือ

ประวัติศาสตร์
เมืองเชียงใหม่สร้างขึ้นโดยพญามังราย ในปี พ.ศ. 1839 ในชื่อ "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" และใช้เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา ในอดีต เชียงใหม่มีฐานะเป็นราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังรายตั้งแต่ พ.ศ. 1839-2101 แต่ต่อมาเชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนองในปี พ.ศ. 2101 และได้ถูกปกครองโดยพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ โดยให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์หรือราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช และมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลพายัพ ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน

หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 24 อำเภอ 204 ตำบล 1915 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (เทศบาลนครเชียงใหม่)1เทศบาลเมือง(เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา)

อำเภอ
อำเภอเมืองเชียงใหม่
อำเภอจอมทอง
อำเภอแม่แจ่ม
อำเภอเชียงดาว
อำเภอดอยสะเก็ด
อำเภอแม่แตง
อำเภอแม่ริม
อำเภอสะเมิง
อำเภอฝาง
อำเภอแม่อาย
อำเภอพร้าว
อำเภอสันป่าตอง
อำเภอสันกำแพง
อำเภอสันทราย
อำเภอหางดง
อำเภอฮอด
อำเภอดอยเต่า
อำเภออมก๋อย
อำเภอสารภี
อำเภอเวียงแหง
อำเภอไชยปราการ
อำเภอแม่วาง
อำเภอแม่ออน
อำเภอดอยหล่อ

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ
ทิศเหนือ
รัฐฉานของสหภาพพม่า โดยมีดอยผีปันน้ำของดอยคำ ดอยปกกลา ดอยหลักแต่ง ดอยถ้ำป่อง ดอยถ้วย ดอยผาวอก และดอยอ่างขางอันเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาแดนลาว เป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศใต้
อำเภอสามเงา อำเภอแม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง (จังหวัดตาก) มีร่องน้ำแม่ตื่นและดอยผีปันน้ำ ดอยเรี่ยม ดอยหลวงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันออก
อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) อำเภอเมืองปาน อำเภอเมืองลำปาง (จังหวัดลำปาง) อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอลี้ (จังหวัดลำพูน) ส่วนที่ติดจังหวัดเชียงรายและลำปางมีร่องน้ำลึกของแม่น้ำกก สันปันน้ำดอยซาง ดอยหลุมข้าว ดอยแม่วัวน้อย ดอยวังผา และดอยแม่โตเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ส่วนที่ติดจังหวัดลำพูนมีดอยขุนห้วยหละ ดอยช้างสูง และร่องน้ำแม่ปิงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันตก
อำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) มีดอยผีปันน้ำ ดอยกิ่วแดง ดอยแปรเมือง ดอยแม่ยะ ดอยอังเกตุ ดอยแม่สุรินทร์ ดอยขุนยวม ดอยหลวง และร่องแม่ริด แม่ออย และดอยผีปันน้ำดอยขุนแม่ตื่นเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำแตง แม่น้ำแจ่ม แม่น้ำกก แม่น้ำกวง แม่น้ำตื่น และแม่น้ำฝาง

ภูมิอากาศ
เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.4 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.1 องศาเซลเซียส

สภาพภูมิอากาศจังหวัดเชียงใหม่อยู่ภายใต้อิทธิพลมรสุม 2 ชนิด คือลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งภูมิอากาศออกได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

ชาวเชียงใหม่ที่มีชื่อเสียง
จรัล มโนเพ็ชร
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นภาพล เกียรติศักดิ์โชคชัย
บุญศรี รัตนัง
พิสิฐ กีรติการกุล

ประชากร

อาชีพ
ภาคเหนือภูมิอากาศเย็นสดชื่น ภูมิประเทศสวยงามด้วยป่าเขา และดอกไม้นานา ชนิด ทำให้คนเหนือมีลักษณะเยือกเย็น จิตใจโอบอ้อมอารี งานศิลปะหัตถกรรมหลายชนิดจึงเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้

อาชีพของประชากรไทยส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่อาชีพเกษตรกรรม โดยคิดเป็นร้อยละ 61.43 ของผู้ที่ทำงานทั้งหมด ทั่วประเทศ อันเป็นอาชีพดั้งเดิมของชนชาวไทย รองลงมาคือ อาชีพด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม คิดเป็นร้อยละ 13.60 และ 10.02 ตามลำดับ นอกจากนี้ก็ประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ การเมือง แพทย์ ทนายความ และอีกหลายสาขาอาชีพ ตลอดจนผู้ใช้ฝีมือแรงงาน

ภาษาราชการที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และมีภาษาท้องถิ่นซึ่งเรียกว่า ภาษาคำเมือง

ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของทางภาคเหนือ มีคุณลักษณะของภาษาที่คล้ายๆกัน จะแตกต่างกันเฉพาะ สำเนียงและศัพท์บางคำ แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความไพเราะ

ต่างกันไปนักท่องเที่ยวที่มาจากถิ่นอื่น ล้วนชื่นชมว่า ภาษาคำเมืองนั้น มีความไพเราะ นุ่มนวล ยิ่งนักแล...

การศึกษา
จังหวัดเชียงใหม่รับรองระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา โรงเรียนที่มีชื่อเสียงในจังหวัดได้แก่

โรงเรียนเอกชนในเขตอำเภอเมือง

โรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนดาราวิทยาลัย โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย โรงเรียนสตรี เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนพระหฤทัย เชียงใหม่ โรงเรียนสตรี เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนชาย ในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมต้น ส่วนในระดับมัธยมปลายเป็น โรงเรียนสหศึกษา
โรงเรียนวชิรวิทย์ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนวารี เชียงใหม่ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนรัฐบาลในเขตอำเภอเมือง

โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนหอพระ โรงเรียนสหศึกษา สอนในระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนสหศึกษา ในระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับอนุบาลปละประถมศึกษา
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนรัฐบาลนอกอำเภอเมือง

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนไชยปราการ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนเอกชนนอกเขตอำเภอเมือง

โรงเรียนรังษีวิทยา โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนรัตนาเอื้อวิทยา โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
โรงเรียนสายอักษร โรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับเตรียมประถมถึงมัธยมปลาย
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้แก่

วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ www.cmtc.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ www.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ www.mju.ac.th
มหาวิทยาลัยพายัพ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก พระอารามหลวง
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

กีฬา
ในจังหวัดเชียงใหม่มีการเล่นกีฬาหลายประเภทและมีการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้งที่เชียงใหม่ ซึ่งได้แก่ เอเชียนเกมส์ 1998 (เฉพาะฟุตบอลที่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี) ซีเกมส์ครั้งที่ 18 ฟุตบอลเอเชียเยาวชน 1998 และกีฬาในประเทศ ได้แก่ การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 3 ครั้ง

กีฬาอาชีพในเชียงใหม่นั้น มีสโมสรฟุตบอลอาชีพ คือ สโมสรฟุตบอลเชียงใหม่ ซึ่งเป็นทีมจังหวัดที่ประสบความสำเร็จทีมหนึ่งในภาคเหนือ โดยปัจจุบันในปี 2549 เล่นฟุตบอลอาชีพ ใน โปรลีก และในเดือน ตุลาคม 2549 ได้มีแถลงการเปิดบริษัทที่จะสนับสนุนฟุตบอลอาชีพ ในชื่อ "บริษัท พัฒนาธุกิจกีฬา เชียงใหม่" [1]

คมนาคม


การเดินทางระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ สามารถเดินทางได้หลายวิธี รวมถึงทางเครื่องบิน ผ่านทางท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือรถไฟ ผ่านทางสถานีรถไฟเชียงใหม่ หรือรถประจำทาง ลงที่ท่ารถประจำทางที่ สถานีขนส่งอาเขต

สำหรับการเดินทางในตัวจังหวัด จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมีรถเมล์ รถแดง BRT สำหรับระบบ BRT คือรถเมล์ด่วนพิเศษนครเชียงใหม่จะเปิดให้บริการในอนาคต แต่ยังติดปัญหาเรื่องงบประมาณและการพิจารณาอนุมัติของ สนข.

ประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ในบริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงิน เป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วน สี แดง - เหลือง เป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล

เศรษฐกิจ
ในปี พ.ศ. 2543 ประชากรเชียงใหม่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 55,846 บาทต่อปี เป็นอันดับ 2 รองจากจังหวัดลำพูนของภาคเหนือ โดยทั้งจังหวัดมีผลิตภัณฑ์มวลรวม 81,423 ล้านบาท โดยส่วนมากขึ้นอยู่กับสาขาบริการมากที่สุด ถึงร้อยละ 28.82 มูลค่า 23,464 ล้านบาท รองลงมาเป็นสาขาอุตสาหกรรม ร้อยละ 18.86 มูลค่า 15,359 ล้านบาท และสาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 11.37 มูลค่า 9,258 ล้านบาท อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 8.9

สถานที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
อุทยานแห่งชาติขุนขาน
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
อุทยานแห่งชาติแม่โถ
อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
อุทยานแห่งชาติออบขาน

อ้างอิง
^ การแถลงข่าว เปิด บริษัท พัฒนาธุกิจกีฬา เชียงใหม่ จาก หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายของธรรมชาติ

คำว่า ธรรมชาติ ใช้สำหรับบรรยายทุกสิ่งบน โลก ที่ไม่ได้ถูกสร้างโดยมนุษย์ อาทิเช่น มนุษย์ สัตว์ ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ หรือฝน เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ. นักวิทยาศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษาการทำงานของธรรมชาติ

ในหลายๆ ด้านแล้ว กล่าวได้ว่าธรรมชาติและมนุษย์มีหลายอย่างที่ขัดแย้งกัน บางคนมองธรรมชาติว่าเป็นเพียงทรัพยากรธรรมชาติที่เอามาเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น มนุษย์ตัดต้นไม้เพื่อนำไม้ไปเป็นเชื้อเพลิงหรือนำไปสร้าง บ้าน หรือเพื่อนำที่ดินไปทำสวน ปลูกผัก หรือสร้างรถ และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปล่อยควันเสีย โดยเฉพาะในเมือง หรือการที่มนุษย์จับปลาอย่างมากมายโดยฆ่าทั้งปลาและทำอันตรายต่อสัตว์อื่นๆ ใต้น้ำ

ในขณะที่บางคนเลือกที่จะไม่ทำร้ายธรรมชาติ เพราะพวกเขารู้สึกว่าธรรมชาติมีความจำเป็นต่อพวกเขา พวกเขาจึงพยายามทำสิ่งที่ไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีผู้คนมากมาย ปัญหาธรรมชาติจึงเป็นปัญหาที่ร้ายแรง และกลายเป็นเรื่องการเมืองไปเสียแล้ว

มีบางคนคิดว่าอนาคตนี้มนุษย์จะไม่ต้องการธรรมชาติ และฉลาดพอที่จะสร้างสิ่งต่างๆ ทดแทนธรรมชาติได้ แต่อันที่จริงแล้ว มนุษย์เองก็เกิดจากธรรมชาติและธรรมชาติก็สร้างมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีสมองอันชาญฉลาด มีความสามารถที่จะปกป้องธรรมชาติจากอันตราย และช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้ หากธรรมชาติเสื่อมโทรมลงไป มนุษย์อาจจะต้องอยู่อย่างลำบากมากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรจะดูแลรักษาธรรมชาติ ธรรมชาติสามารถแสดงให้มนุษย์เห็นว่าจะทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร และมนุษย์ศึกษาธรรมชาติ เพื่อที่จะเข้าใจและแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง


ธรรมชาติในอีกความหมายหนึ่งคือ สิ่งที่มนุษย์กระทำขึ้นโดยไม่รู้ตัวแล้วมนุษย์อีกคนหนึ่งแอบมองโดยไม่ได้ตั่งใจหรือตั่งใจ เช่น ธรรมชาติของคนที่โกรธจัดจะเป็นอีกแบบกับคนที่อารมณ์ดีซึ่งคนที่อารมณ์ดีจะหน้าดูกว่าคนที่อารมโกรธหรืออารมณ์ไม่ดี


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

จังหวัดลำปาง


ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย ลำปาง
ชื่ออักษรโรมัน Lampang
ผู้ว่าราชการ นายดิเรก ก้อนกลีบ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2550)
ISO 3166-2 TH-52
ต้นไม้ประจำจังหวัด กระเจา
ดอกไม้ประจำจังหวัด ธรรมรักษา
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 12,533.961 ตร.กม.
(อันดับที่ 10)
ประชากร 770,613 คน (พ.ศ. 2550)
(อันดับที่ 31)
ความหนาแน่น 61.48 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 67)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศูนย์ราชการจังหวัดลำปาง ถนนวชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52000
เว็บไซต์ http://www.lampang.go.th/

จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และภูเขาสูง มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเดิมว่า เขลางค์นคร เป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า

นครลำปางเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในล้านนา เป็นจุดศูนย์รวมทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนาอันโดดเด่น สมัยกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรล้านนารวมไปถึงนครลำปางได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามานานนับสองร้อยปี ดังนั้นสถาปัตยกรรม วัดวาอาราม โบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองลำปางจึงได้รับอิทธิพลของศิลปะพม่าเห็นได้อย่างชัดเจน อาทิ วัดศรีชุม วัดพระแก้วดอนเต้าฯ ช่วงสมัยพม่าปกครองอาณาจักรล้านนารวมไปถึงเมืองลำปางไม่ได้สร้างคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง มิหนำซ้ำยังกระทำการย่ำยีข่มเหงชาวบ้านจนทำให้ชาวเมืองเกลียดชังไปทั่ว จนกระทั่งได้เกิดวีรบุรุษผู้กล้าแห่งบ้านปกยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) นามว่า เจ้าพ่อทิพย์ช้าง ท่านได้รวบรวมชาวเมืองขับไล่พม่าพ้นเมืองลำปางได้สำเร็จ พร้อมกันนี้ชาวเมืองจึงพากันสถาปนาท่านขึ้นเป็นเจ้าเมืองลำปาง มีพระนามว่า พญาสุวฤๅไชยสงคราม เวลานั้นเมืองลำปางเป็นเมืองเดียวในล้านนาที่ปราศจากอำนาจปกครองจากพม่า

กาลเวลาต่อมาลูกหลานของท่านได้กอบกู้เอกราชขับไล่พม่าจากแผ่นดินล้านนา และได้เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ ลำพูน น่าน และต้นตระกูลของท่านมีนามปรากฏในพงศาวดารว่าราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูประบอบการปกครองเป็นระบอบมณฑล เมืองลำปางขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพ (เมืองเชียงใหม่) และมณฑลมหาราษฎร์ (เมืองแพร่) ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนแปลงเป็นจังหวัด เมืองลำปางจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


พื้นที่
จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดพะเยา แพร่ และสุโขทัย
ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดสุโขทัยและตาก
ทิศตะวันตก ติดกับ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และตาก

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกธรรมรักษา (Heliconia sp.)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: กระเจา (Holoptelea integrifolia)
คำขวัญประจำจังหวัด: ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก

หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 100 ตำบล 855 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองลำปาง
อำเภอแม่เมาะ
อำเภอเกาะคา
อำเภอเสริมงาม
อำเภองาว
อำเภอแจ้ห่ม
อำเภอวังเหนือ
อำเภอเถิน
อำเภอแม่พริก
อำเภอแม่ทะ
อำเภอสบปราบ
อำเภอห้างฉัตร
อำเภอเมืองปาน

เทศบาล
เทศบาลนครลำปาง อำเภอเมืองลำปาง
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมืองลำปาง
เทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง
เทศบาลตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง
เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา
เทศบาลตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร
เทศบาลตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม
เทศบาลตำบลหลวงเหนือ อำเภองาว
เทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม
เทศบาลตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ
เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอวังเหนือ
เทศบาลตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน
เทศบาลตำบลแม่ปุ อำเภอเถิน
เทศบาลตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก
เทศบาลตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน
เทศบาลตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ
เทศบาลตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ
เทศบาลตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ

การคมนาคม
ทางบก จังหวัดลำปางอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 600 กิโลเมตร การเดินทางทางบกสะดวกสบายมากจากกรุงเทพฯ จากเส้นทางสายเอเชีย ผ่าน พระนครศรีอยุธยา-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-เข้าสู่ลำปาง ถนนเป็นถนนสี่เส้นทางการจราจรตลอด ใช้เวลาเดินทางรถส่วนตัวประมาณ 7-8 ชั่วโมง รถบัสประจำทางจากกรุงเทพฯ-ลำปาง ขึ้นได้ที่สถานีหมอชิตใหม่ มีรถให้เลือกหลายบริษัทหลายระดับเช่นกัน ทั้ง บขส.สมบัติทัวส์ สยามเฟิสทัวร์ เมืองเหนือทัวร์ ฯลฯ
ทางรถไฟ นั่งรถไฟที่สถานีรถไฟหัวลำโพง มีรถไฟหลายชั้นหลายระดับให้เลือกตั้งแต่สปิ้นเตอร์-รถนอนปรับอากาศ-รถพัดลมธรรมดา ลงที่สถานีนครลำปาง
ทางอากาศ นั่งเครื่องบินใช้เวลา 1 ชั่วโมงเศษจากกรุงเทพฯ ลงที่สนามบินลำปางได้เลย หรือลงที่สนามบินเชียงใหม่ต่อรถอีก 1 ชั่วโมงก็จะถึงจังหวัดลำปาง

การศึกษา
ระดับอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนา จังหวัดลำปาง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง
มหาวิทยาลัยโยนก
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลลำปาง (สถาบันร่วมผลิตแพทย์ แห่ง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ระดับมัธยมศึกษา

โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
โรงเรียนลำปางกัลยาณี
โรงเรียนเขลางค์นคร
โรงเรียนประชารัฐธรรมคุณ
โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา
โรงเรียนวังเหนือวิทยา
โรงเรียนเถินวิทยา
โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
โรงเรียนแม่สันวิทยา
โรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูลวิทยา

พระอารามหลวง
วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
วัดบุญวาทย์วิหาร
วัดจองคำ อำเภองาว
วัดพระเจดีย์ซาวหลัง
วัดพระธาตุลำปางหลวง

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
วัดพระแก้วดอนเต้า
วัดพระธาตุลำปางหลวง
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อำเภอห้างฉัตร
บ่อน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน ชายแดนติดต่อลำพูน-ลำปาง
ถ้ำผาไท อำเภองาว
วัดพระเจดีย์ซาวหลัง อำเภอเมือง
น้ำตกวังแก้ว อำเภอวังเหนือ
เขื่อนกิ่วลม ที่กั้นแม่น้ำวัง
ศาลเจ้าพ่อประตูผา อำเภองาว
ตลาดทุ่งเกวียน
สวนสาธารณะหนองกระทิง

อุทยานแห่งชาติทางบก
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อำเภองาว
อุทยานแห่งชาติดอยจง
อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท
อุทยานแห่งชาติแม่วะ
พื้นที่สงวนชีวมณฑลสวนสัก ห้วยทาก

ห้างสรรพสินค้า
เสรีสรรพสินค้า
บิ๊กซี
โลตัส
แสงเจริญสรรพสินค้า

ประเพณีของจังหวัดลำปาง
ประเพณีแห่สลุงหลวง
ประเพณีสงกรานต์
ประเพณีขันโตกช้าง
งานเซรามิคแฟร์
งานหลวงเวียงละคอน
งานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ-รถม้าลำปาง

ชาวลำปางที่มีชื่อเสียง
ฯพณฯ บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตุ้ยตุ่ย พุทธชาด พงษ์สุชาติ ดารานักแสดง พิธีกร
กระแต นักร้อง
เรือตรีหญิงเกษราภรณ์ สุตา นักกีฬายกน้ำหนักหญิง เหรียญทองแดงโอลิมปิกเกมส์
น.ส.นันทนา คำวงษ์ นักกีฬาเทเบิลเทนนิสทีมชาติ
นายเทวฤทธิ์ มัจฉาชีพ นักกีฬายิงปืนทีมชาติ

Free CursorsMyspace LayoutsMyspace Comments